พฤติกรรมแบบไหน? เสี่ยงต่อการเกิดโรค “ความดันโลหิตสูง”

พฤติกรรมแบบไหน? เสี่ยงต่อการเกิดโรค “ความดันโลหิตสูง”

ความดันโลหิตสูง โรคเรื้อรังที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ และมักเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความดันโลหิตสูง คือเพชฌฆาตเงียบที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง ซึ่งสามารถทำลายหัวใจ สมอง ไต ดวงตา และหลอดเลือดได้ เพราะอวัยวะเหล่านี้จะอ่อนแอกับความดันสูง หากปล่อยให้เป็นความดันโลหิตสูงนานโดยไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลให้อวัยวะสำคัญในร่างกายถูกทำลายในที่สุด แล้วอะไรบ้างล่ะ? ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความดันสูงได้ เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย

1. ปล่อยตัวเองให้น้ำหนักเกิน มีรูปร่างอ้วน

การกินอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ด ที่อร่อย รวดเร็ว กินง่าย นั่นแหละสาเหตุของโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน และโรคนี้เองที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหลอดเหลือดตีบจากภาวะไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้ง่าย ใครที่รู้ตัวว่าน้ำหนักเกินแล้วเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วน แนะนำให้ไปลดน้ำหนักโดยด่วน ซึ่งการลดน้ำหนักลงประมาณ 10 กิโลกรัม สามารถลดความดันโลหิตลงได้ 5-20 มม.ปรอท เลยทีเดียว

วิธีเช็คว่าตัวเองน้ำหนักเกินแล้วหรือยังในแบบที่ง่ายที่สุด โดยไม่ต้องคำนวนอะไรให้มากมายคือ “การวัดรอบเอว” นั่นเอง วิธีการก็คือ ให้นำสายวัด ใช้วัดรอบเอวของเรา โดยวัดผ่านบริเวณสะดือ และสำหรับคุณผู้หญิง หากมีรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว แปลว่าคุณเริ่มน้ำหนักเกินแล้วนะ ส่วนคุณผู้ชาย หากมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ก็ถือว่าเราเริ่มมูปร่างอ้วนแล้วล่ะ

2. ชอบกินเค็ม

กินหวานจัดอันตราย กินเค็มจัดก็อันตรายเหมือนกันนะ รู้ยัง? เพราะเมื่อร่างกายได้รับเกลือหรืออาหารรสเค็ม ร่างกายของเราจะดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและควบคุมได้ยาก ร่างกายของเราสามารถขับโซเดียมออกมาได้ 3 ทาง คือ ผ่านทางไต ผ่านทางเหงื่อ และผ่านทางขับถ่ายแบบหนัก หากร่างกายมีปริมาณโซเดียมมากเกินไป จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาหารที่มีโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง (มีโซเดียมมากกว่า 120 mg/ส่วน) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ปลาร้า กะปิ ซอสปรุงรส น้ำปลา ขนมขบเคี้ยว อาหารหมักดอง เป็นต้น

3. ไม่ชอบออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งวิธีการออกกำลังกายในแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายและโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ แต่สำหรับผู้ที่ร่างกายแข็งแรงดี ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที และไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ชอบกินของเค็ม ๆ หรืออาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง รวมไปถึงการมีความเครียดสะสมทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว คุณก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนอ้วน ซึ่งการออกกำลังกายจะเป็นหนทางหนึ่งในการลดความเสี่ยง และช่วยให้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหายจากภาวะดีได้

4. ชีวิตมีแต่ความเครียด

“ความเครียด” ตัวเร่งชั้นดีที่จะทำให้ความดันโลหิตพุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเราเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็งขึ้น ทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้นในช่วงที่เราเกิดความเครียด ยิ่งถ้าเราเป็นโรคหัวใจ หรือหลอดเลือดสมองด้วยอยู่แล้ว การที่เลือดสูบฉีดเร็วขึ้น แรงขึ้นจะส่งผลให้อาการของโรคกำเริบขึ้นมา ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเราหายเครียด ความดันก็จะลดลง แต่เรารู้หรือไม่ว่า ความเครียดส่งผลกับร่างกายนอกจากความดันอีกด้วยเช่น โรคไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง โรคปวดหลัง หรือแม้กระทั่งสามารถทำให้คนฆ่าตัวตายเลยก็ได้ ดังนั้นเราต้องรู้จักจัดการกับความเครียด เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อร่างกายจนกระทบต่อการดำเนินชีวิต หากรู้สึกว่าตนเองประสบกับภาวะเครียดเรื้อรัง ควรเรียนรู้การปล่อยวาง ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ออกไปเที่ยวพักผ่อน เพื่อผ่อนคลายความเครียดที่มีอยู่

5. สูบบุหรี่เป็นประจำ 

ใครสูบบุหรี่จัดจนแทบหมดซองใน 1 วัน จะมีปริมาณนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกาย ยิ่งมากยิ่งส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอิพิเนฟริน หรือ อะดรีนาลีน ที่มีผลกระทบต่อความดันโลหิตสูงโดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบและตีบตันของหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดไตและหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

*โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี หากยังไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง เราก็ควรหันมาดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงไม่ให้เกิดกับตัวเอง

กระเทียมดำเบเนก้า (Benega Black Garlic) รักษาความดันโลหิตสูง?

ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้หายเป็นปกติได้ แต่ข่าวดีก็ยังมีอยู่ ซึ่งก็คือ กระเทียมดำเบเนก้า (Benega Black Garlic) นั้นเอง เนื่องจากตัวกระเทียมดำมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น Y-aminobutyric acid (GABA) และ Polyphenols สูง ซึ่งช่วยลดและปรับสมดุลความดันให้อยู่ในระดับปกติได้

อย่างไรก็ตามความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของเรา และเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคร้ายแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ, ไตวาย หรือแม้แต่เส้นเลือดในสมองแตก อย่าลืมใส่ใจกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราให้ดี ก่อนที่จะเกิดสิ่งร้ายแรงตามมาอย่างคาดไม่ถึง

By Benega Thailand Team