5 เครื่องดื่มที่คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรดื่ม

ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพสามารถเกิดขึ้นได้หลายหลายรูปแบบ เพราะโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมีมากมาย เนื่องจากปัจจัยรอบตัวที่เต็มไปด้วยมลพิษและเชื้อโรคที่มากขึ้น อาจส่งผลต่อระบบหายใจหรือโรคติดเชื้อ แต่หลายคนอาจลืมไปแล้วว่าหนึ่งในโรคที่ทุกคนควรระวังและมีโอกาสเป็นทุกยุคทุกสมัยโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับมลภาวะรอบตัวนั่นคือ “โรคความดันโลหิตสูง” ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะโรคความดันโลหิตสูงนี้จะไม่แสดงอาการแรกเริ่ม จะไปตรวจเจอก็ตอนที่มีอาการรุนแรงแล้ว และทุกวันนี้คนที่มีความเสี่ยงที่สามารถเป็นโรคความดันสูงได้นั้น เป็นได้ทุกช่วงวัย

เพราะฉะนั้นสุขภาพจะดีได้ การควบคุมอาหารที่กินเข้าไปในร่างกายของเรานั้นก็สำคัญ แต่เราจะปล่อยปละละเลยเรื่องของเครื่องดื่มก็ไม่ได้ เพราะเครื่องดื่มนั้นกินได้ง่ายมากกว่าอาหารมาก เพราะการดื่มเครื่องดื่มไม่มีเรื่องของกระบวนการเคี้ยวเข้ามาเกี่ยวข้อง การดื่มจึงทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เราดื่มเข้าไปในสู่ร่างกายของเรานั้นง่ายกว่าการกินนั่นเอง วันนี้เราจะมาแชร์ 5 เครื่องดื่มที่คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงกัน

1. นม

หลายคนคงคิดว่า “นม” นั้นน่าจะเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เพราะคุณค่าโภชนาการของ “นม” มีมากมาย  คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แคลเซียม น้ำ และเกลือแร่ต่าง ๆ มีคุณภาพและประโยชน์ที่เหมาะสม สร้างกระดูกและฟันของเด็ก ๆ ให้แข็งแรง  ดังนั้นเด็ก ๆ ในวัยเรียน จึงควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2  แก้ว เฉลี่ยปีละ 88 ลิตร พ่อแม่เองก็ต้องเสริมสร้างวินัยในการออกกำลังกายให้กับเด็ก ๆ ด้วย โดยแนะนำประเภทของกีฬาที่เพิ่มความสูง อย่างเช่น ว่ายน้ำ บาสเกตบอล และโหนบาร์ ให้เด็ก ๆ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ เพื่อเด็กเองจะได้โตอย่างสมวัย สูงสมส่วน กระดูกและฟันแข็งแรง และไม่เป็นโรคอ้วน แต่ในความเป็นจริงนั้น นมมีไขมันอิ่มตัวอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเข้าไปเพิ่มระดับไขมันในเส้นเลือดของเรา ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตันได้ง่าย จนกลายเป็นภาวะความดันสูงนั่นเอง

2. น้ำอัดลม

การดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ได้แก่ ฟันสึกกร่อน ฟันผุ อ้วน กระดูกพรุน และกระดูกเปราะ เนื่องจากน้ำหวานชนิดอัดลมมีกรดคาร์บอนิกค่อนข้างมาก ซึ่งสารดังกล่าวจะกีดขวางการดูดซึมแคลเซียมของกระดูก การดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เพราะร่างกายจะหลั่งสารอินซูลินออกมามากเกินจำเป็น ซึ่งในระยะยาวร่างกายจะผลิตอินซูลินได้น้อยลง จนทำให้ร่างกายเกิดโรคเบาหวานโดยไม่รู้ตัว ซึ่งน้ำอัดลม 1 กระป๋อง (ขนาด 325 ซีซี) มีปริมาณน้ำตาล 8-12 ช้อนชา จะเท่ากับน้ำตาลในลูกอม จำนวน 17 เม็ด หากกินรวมกันหลายอย่างอาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย และเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าร่างกายควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัมต่อวัน หรือปริมาณ 6 ช้อนชา

นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า การดื่มน้ำอัดลมไม่เพียงแต่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่อาจเพิ่มค่าความดันโลหิตให้สูงขึ้นด้วย โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปอาจก่อให้เกิดผลกระทบได้ทั้งระดับความดันโลหิตและการสูบฉีดเลือด รวมไปถึงอาจส่งผลต่อระดับเกลือแร่ของร่างกาย ทำให้มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้เมื่อดื่มน้ำอัดลม

3. กาแฟ

การดื่มกาแฟดำมีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ เพราะนอกจากกาแฟดำจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว กาแฟดำยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมายอีกด้วย แต่เมื่อพูดถึงกาแฟ เราก็จะนึกถึงคาเฟอีนที่เป็นของคู่กันอยู่แล้ว(ถ้าพูดถึงกาแฟทั่วไป) ซึ่งคาเฟอีนนั้นจะเป็นตัวเร่งความดันโลหิตให้เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้จะมีโซเดียมต่ำก็ตาม แต่ก็สามารถทำให้เกิดการแปรปรวนของระดับความดันโลหิตในเลือดได้ ดังนั้นใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรจะเลิกดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม, ชาชนิดต่าง ๆ จะดีที่สุด

4. เครื่องดื่มชูกำลัง

เครื่องดื่มชูกำลังคือเครื่องดื่มสำหรับเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย และหลาย ๆ คนยังเชื่อว่ามีสรรพคุณเพิ่มความทนทานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น เครื่องดื่มชนิดนี้มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมหลัก และอาจประกอบด้วยสารสกัดจากกัวรานา กรดอะมิโนทอรีน น้ำตาล และวิตามิน เป็นต้น ถึงแม้ว่าเครื่องดื่มชูกำลังจะเป็นทางเลือกของการทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่มันก็มักจะมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ซึ่งคาเฟอีนเป็นสาเหตุของความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

5. แอลกอฮอล์

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นอกจากจะสามารถทำให้ระดับความดันโลหิตเกิดความแปรปรวนได้ง่ายแล้ว ยังเปรียบเสมือนดาบสองคมสำหรับคนเป็นโรคความดันสูง ดังนั้นหากดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากไป จะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เพราะมีการศึกษาบางส่วนพบว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเช่น ไวน์แดง หรือเบียร์ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ แต่ถ้าหากดื่มมากไปก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ แม้แต่กับคนที่ไม่ค่อยดื่มก็ตาม ซึ่งการดื่มมากกว่า 3 แก้วก็สามารถทำให้ระดับความดันโลหิตเกิดความแปรปรวนได้แล้ว แถมการดื่มซ้ำ ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตในระยะยาวอีกด้วย

By น.พ. ภัทร วิริยะบัณฑิตกุล